ตัววิ่ง

Welcome to My Blog Information Technology and Communication.

วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

พลเมืองดีตามประเพณีวัฒนธรรม

           วัตถุประสงค์ทั่วไป
1. ทราบถึงความสำคัญของการเป็นพลเมืองดี
2. เข้าใจวัตถุประสงค์ของการพัฒนาความเป็นพลเมืองดี
3. เข้าใจค่านิยมพื้นฐานการเป็นพลเมืองดีในสังคมไทย
4. เข้าใจการวิเคราะห์พระบรมราโชวาทคุณธรรมสี่ประการ
5. เข้าใจลักษณะของพลเมืองตามประเพณีและวัฒนธรรมไทย
6. เข้าใจแนวทางการส่งเสริมบุคคลที่เกี่ยวข้องให้ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี


วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
1. สรุปความสำคัญของการเป็นพลเมืองดีได้
2. อธิบายวัตถุประสงค์ของการพัฒนาความเป็นพลเมืองดีได้
3. อธิบายค่านิยมพื้นฐานการเป็นพลเมืองดีในสังคมไทยได้
4. อธิบายการวิเคราะห์พระบรมราโชวาทคุณธรรมสี่ประการได้
5. อธิบายลักษณะของพลเมืองตามประเพณีและวัฒนธรรมไทยได้
6. อธิอบายแนวทางการส่งเสริมบุคคลที่เกี่ยวข้องให้ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีได้

เนื้อหาสาระ
ทรัพยากรมนุษย์ เป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญมากที่สุดในอันที่จะสร้างทั้งความเจริญและความเสื่อม
ให้กับสังคม สังคมทุกแห่งย่อมต้องการพลเมืองที่มีคุณภาพ มีคุณธรรม เพื่อที่จะได้พัฒนาสังคมได้อย่างยั่งยืน
ดังนั้นการที่จะสร้างพลเมืองที่ดีให้กับสังคมตามวิถีการดำเนินชีวิตของคนไทย สอดคล้องกับปรัเพณีและ
วัฒนธรรมไทย จึงต้องทำหน้าที่ของสถาบันต่าง ๆ ทางสังคมที่จะต้องอบรมดูแล


ความหมายและความสำคัญของพลเมืองดี
ความหมาย
พลเมืองดี หมายถึง ประชาชนที่ประพฤติปฏิบัติตามระเบียบกฎเกณฑ์ของสังคมมีความรับผิดชอบต่อ
หน้าที่ ของตนเอง รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง และปฏบัติตนได้อย่างเหมาะสมไม่ละเมิดล่วงล้ำสิทธิ
และเสรีภาพของ บุคคลอื่น
ความสำคัญ
พลเมืองเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของสังคมของสังคมไทย เช่นเดียวกับสังคมอื่น ๆ ทุกสังคมย่อมต้องการ
พลเมืองที่มีคุณภาพ ซึ่งหมายถึงความมีร่างกายจิตใจดี คิดเป็น ทำเป็น แก้ไขปัญหาได้ มีประสิทธิภาพ
เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาความเจริญก้าวหน้า ความมั่นคงให้กับประเทศชาติและการเป็นพลเมืองดี
นั้นย่อมต้องการปฏิบัติตามบรรทัดฐานและขนบธรรมเนียมประเพณีของสังคมมีคุณธรรมเป็นแนวปฏิบัติ
ในการดำเนินชีวิตอีกด้วย เพื่อการพัฒนาสังคมให้ยั่งยืน
วัตถุประสงค์ของการพัฒนาให้เป็นพลเมืองดี วัตถุประสงค์ของการพัฒนาให้เป็นพลเมืองดี มีดังนี้
1. เพื่อให้รู้จักปฏิบัติตามบรรทัดฐานของสังคม
2. เพื่อปลูกฝังทักษะการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม
3. เพื่อปลูกฝังความมีระเบียบวินัย และเคารพกฎหมาย
4. เพื่อปลูกฝังให้มีทัศนคติและค่านิยมที่ดีต่อสังคม

ลักษณะของพลเมืองดี
การเป็นพลเมืองดีจะมีลักษณะอย่างไรนั้น สังคมจะเป็นผู้กำหนดลักษณธที่พึงประสงค์เพื่อที่จะได้
พลเมือง ที่ดี ต้องการังนั้นคุณสมบัติของสมาชิกในสังคมก็จะต้องมีคุณสมบัติที่เป็นพื้นฐานและคุณสมบัติ
เฉพาะ ดังนี้
คุณสมบัติพื้นฐาน คือ คุณสมบัติทั่วไปของการเป็นพลเมืองดี เช่นขยัน อดทน ซื่อสัตย์ ประหยัด
รับผิดชอบ มีเหตุผล โอบอ้อมอารี มีเมตตา เห็นประโยชน์ส่วนรวมมีความสำคัญเสมอ
คุณสมบัติเฉพาะ คือ คุณสมบัติเฉพาะอย่างที่สังคมต้องการให้บุคคลพึ่งปฏิบัติ เช่นต้องการบุคคลที่มี
คุณธรรมนำความรู้ ต้องการให้คนในสังคมไทยหันมาสนใจ พัฒนาวิจัยในงานอาชีพด้านการเกษตรให้้มาก
เนื่องจากเป็นพื้นฐานของสังคมไทย เนื่องจากเป็นพื้นฐานของสังคมไทย เพื่อการพัฒนาสังคมให้เจริญ
ก้าวหน้าอย่างยั่งยืน
ค่านิยมพื้นฐานการเป็นพลเมืองดีในสังคมไทย
ค่านิยมพื้นฐานการเป็นพลเมืองดีในสังคมไทย มี 5 ประการคือ
1. การพึ่งพาตนเอง
2. ความขยันมั่นเพียง
3. มีความรับผิดชอบ
4. ประหยัด และเก็บออม
5. มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย มีคุณธรรม รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์

พระบรมราโชวาทคุณธรรมสี่ประการ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราโชวาทในวันที่ 5 เมษายน พุทธศักราช 2525
ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง เกี่ยวกับคุณธรรมสี่ประการที่ประชาชนควรน้อมนำมาปฏิบัติ เพ่อให้ประเทศชาติ
เกิดความสงบสุข ความร่มเย็น และพัฒนาให้ก้าวหน้าอย่างมั่นคง
คุณธรรม 4 ประการ ได้แก่
1. การรักษาความสัจ ความจริงใจต่อตนเองที่จะพึ่งปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม
2. การรู้จักข่มใจตนเอง ฝึกตนเองให้ประพฤตอยู่ในความสัจความจริงใจนั้น
3. การอดทน อดกลั้น และอดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัจสุจริต ไม่ว่าจะด้วยเหตุประการใด
4. การรู้จักเว้นความชั่ว ความสุจริต และรู้จักรักษาประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง
ดังนั้น การเป็นพลเมืองที่ดีของสังคมไทย ก็คือ การปฏิบัติตนตามบรรทัดฐานและค่านิยมอันพึงประสงค์
ของสังคม มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมนั้่นเอง

พลเมืองดีตามประเพณีและวัฒนธรรมไทย

 

 

พลเมืองดีย่อมเป็นที่ต้องการของสังคมทุกสังคม สถาบัน และสถานนะของตนเอง ดังนั้น พลเมืองดีจึง
ต้องได้รับการปลูกฝังสิ่งที่ดีงาม ดังนี้
1. สถาบันทางสังคมทุกสถาบัน โดยเฉพาะสังคมแรก คือ ครอบครัว ต้องอบรมให้คนไทยมีสัมมาคารวะ
ต่ออาวุโส มีความเสียสละ ซื่อสัตย์สุจริต ตรงต่อเวลา เป็นต้น
2. ต้องปฏิบัติตนตามหน้าที่ในฐานะเป็นพลเมืองไทย ตามำฏหมายรัฐธรรมนูญ
3. สอนให้เยาวชนรู้จักและปฏิบัติตนตามสถานภาพและบทบาทของตนเองโดยมีความรับผิดชอบ
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เคารพกฎหมาย ปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม
การปลูกฝังสิ่งที่ดีงาม
พลเมืองดีต้องมีเกณฑ์ในการปฏิบัติ สำหรับเกณฑ์ในการพิจารณานั้น ดูจากภาระหน้าที่ของพลเมืองซึ่ง
มีผลตอบสนองต่อการปลูกฝังความเป็นพลเมืองดี
ภาระหน้าที่ความรับผิดชอบ
คำว่า "ภาระ" หมายถึง หน้าที่ต้องปฏิบัติ
คำว่า "หน้าที่" หมายถึง กิจที่ต้องทำตามสถานภาพที่ได้รับ
ภาระหน้าที่ หมายถึง สิ่งที่ต้องปฏิบัติตามสถานภาพของบุคคลที่มีอยู่ ซึ่งภาระหน้าที่ของบุคคลในสังคม
จะเป็นอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ในการพิจารณาของสังคมนั้นเป็นหลัก ซึ่งจะถูกกำหนด
โดยปัจจัย 4 ประการ ดังนี้
1. สถานภาพในขณะนั้น คือตำแหน่งในสังคมของบึคคลในขณะนั้น เช่นครู แพทย์ เป็นต้น     
 
 

 
2. บรรทัดฐานของสังคม คือ ระเบียบแบบแผนแห่งพฤติกรรม เกิดจากปฏิบัติจะละเมิกมิได้ เช่น
ประชาชนเสีย ภาษีอากร ชายไทยอายุ 20 ปีต้องเกณฑ์ทหาร
3. จารีตประเพณี วัฒนธรรมและค่านิยม เป็นสิ่งที่ปฏิบัติสืบทอดกันมา เช่น  บุตรต้องกตัญญูต่อบิดามารดา เด็กผู้อ่อนวัย ให้ความเคารพผู้อาวุโส
 
 
 
  4. หลักพระพุทธศาสนา เป็นหลักคำสอน ให้กำหนดแนวคิด แบ่งภาระหน้าที่ตามสถานภาพในทิศ 6
ซึ่งถือเป็นแนวปฏิบัติต่อกันตามบทบาทที่ได้รับ เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
ทิศเบื้องหน้า บิดามารดา
ทิศเบื้องขวา ครู อาจารย์
ทิศเบื้องซ้าย มิตร สหาย
ทิศเบื้องบน พระสงฆ์
ทิศเบื้องหลัง ภรรยา สามี
ทิศเบื้องล่าง คนรับใช้ ผู้ใต้บังคับบัญชา
ภาระหน้าที่นั้น หากบุคคลสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ย่อมทำให้ตนเอง ครอบครัวและสังคม มีความสงบสุข ในทางตรงกันข้าม ถ้าปฏิบัติไม่ถูกต้องย่อมก่อให้เกิดปัญหาคสามเสียหาย
ต่อตนเองครอบครัวและ สังคม
การปลูกฝังความเป็นพลเมืองดีตามประเพณีไทย
การเป็นคนดีของสังคมนั้นวัดกันได้ที่จิตใจ ถ้าจิตใจดีมีคุณธรรม ยึดมั่นในคุณงามความดีก็จะแสดงออกมา
เป็นพฤติกรรมที่มองเห็นได้ สังคมไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันได้อบรมสั่งสอนสมาชิกทุกคนเป็นคนดี ยึดมั่นในหลัก ธรรมคำสอนของศาสนาและขนบธรรมเนียมประเพณ๊อันดีงามและทุกสถาบันทางสังคมต่างก็มี
จุดมุ่งหมายที่จะ อบรมสั่งสอนให้สมาชิกทุกคนเป็นคนดีของสังคมโดยเฉพาะสถาบันครอบครัวเป็นสถาบันหลัก
และสถาบันแรก ในการอบรมขัดเกลาสมาชิก มีวัฒนธรรมคำสอนสืบทอดในการอบรมสั่งสอนบุตร ธิดา
ให้มีลักษณะเหมาะสมกับประเพณีวัฒนธรรมไทย ดังนี้
1. เคารพผู้อาวุโส
2. กตัญญูกตเวที
3. รู้จักการให้อภัย
5. รู้จักภาวะและฐานะขอลตน ปฏิบัติตัวให้เหมาะสม
6. ผู้ชายต้องช่วยเหลือและให้เีกียรติผู้หญิงซึ่งเป็นเพศที่อ่อนแอกว่า
7. ผู้หญิงต้องประพฤติตนสมเป็นกุลสตรี
8. ผู้ชายต้องประพฤติให้เหมาะสมกับการเป็นผู้นำที่ดี
9. ไม่ทำอะไรตามใจตนเอง ต้องมีเหตุผลและสามารถควบคุมพฤติกรรมของตนเองได้
สิ่งที่ครอบครัวได้อบรมสั่งสอนลูกหลานจนกลายเป็นประเพณีนั้นส่งผลให้สมาชิกของสังคมไทยมี
จริยธรรมที่งดงาม เป็นพลเมืองดีตามวัฒนธรรมประเพณี
การส่งเสริมให้บุคคลที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี
 
 

 
 การส่งเสริมให้บุคคลในสังคมหรือในชุมชนที่ตนเองอาศับอยู่ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีย่อมเป็นสิ่งที่ทำ
ได้ยาก เพราะลำพังตนเองจะเประพฤติตนเป็นพลเมืองดี สำหรับคนบางคนเป็นสิ่งยากมาก แต่หากทำได้ย่อม
ส่งผลดีต่อการอยู่รวมกัน และในแนวทางปฏิบัติหากส่งเสริมอย่างจริงจังตนเองจะต้องประพฤติปฏิบัติตน
เป็นตัวอย่าง จึงสมารถชักชวนหรือชักนำให้บุคคลอื่นปฏิบัติตนตามที่ต้องการได้ แนวทางที่สามารถปฏิบัติได้ขอกล่าวเป็นตัวอย่างต่อไปนี้
1. การส่งเสริมการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีในระดับครอบครัว การส่งเสริมในระดับนี้จะเป็นระดับ
ที่ทำได้ง่ายที่สุดเพราะสมาชิกในครอบครัวสนิทสนมมักคุ้นกันเป็นอย่างดี ซึ่งปฏิบัติได้ดังนี้
1.1 พ่อแม่ปฏบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีของลูก
1.2 พ่อแม่ให้ความเคารพในหลักเหตุผล ให้ความยุติธรรมแก่ลูก
2. ส่งเสริมการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีในระดับโรงเรียน ในโรงเรียนครูจะมีบทบาทสำคัญในการ
ส่งเสริมให้นักเรียนปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี โดยการปฏิบัติดังนี้
2.1 ส่งเสริมให้เรียนรู้วิถีชีวิตประชาธิปไตยโดยการปฏิบัติ การเคารพเสียงข้างมาก และให้
ความสำคัญกับผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่าง
2.2 ส่งเสริมให้นักเรียนได้รับผิดชอบและปฏิบัติกิจกรรมทางสังคม
3. การส่งเสริมปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีในระดับชุมชนและท้องถิ่น เช่น
3.1 ให้ความร่วมมือปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ของชุมชนและท้องถิ่น
3.2 ให้ความช่วยเหลือ เสียสละ ทำตนให้เป็นประโยชน์เพื่อให้เกิดความรัก สามมัคคีในชุมชน
และท้องถิ่น